วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

จป.มือใหม่-จป.มือเก๋า



หลังจากจบการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
ก็ต้องออกมาเผชิญโลกของการทำงาน
ไม่ว่าจะอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือโครงการก่อสร้าง หลังจากทำงาน
ไปได้ซักระยะหนึ่ง
...

จป.มือใหม่ คงเริ่มรู้แล้วว่าตำราวิชาการต่างๆ
ที่ร่ำเรียนมามันไม่พออีกต่อไปแล้วมีหลายอย่าง
ที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมลักษณะงานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น 
ที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะต่างๆให้ชำนาญเพิ่มตลอดเวลา
เช่น การสอนงาน การนำเสนอ ฯลฯ 
...

การทำงานคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่สั่งสมเป็นประสบการณ์ต่างๆมากมาย
อาจจะเป็นเรื่องดีที่เราประสบความสำเร็จ
หรือแม้แต่เรื่องที่ผิดพลาดล้มเหลวก็ตาม
...

ประสบการณ์บวกกับอุดมการณ์ความมุ่งมั่น
จะค่อยๆหล่อหลอมตัวตนของเราให้มีความ
ชำนาญเชี่ยวชาญในวิชาชีพของเรามากขึ้น
จาก "จป.มือใหม่ เปลี่ยนเป็น จป.มือเก๋า"
...

สุดท้ายไม่ว่าคุณจะเป็น จป.มือใหม่
หรือ จป.มือเก๋า ก็ขอให้สนุกกับงาน
ฝึกฝนเรียนรู้ สร้างคุณค่าตลอดเวลา
เพราะสิ่งต่างๆที่คุณทำอาจช่วย
ต่อลมหายใจใครได้อีกหลายคน

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อภิรัตน์  ทิพย์กระโทก
วิทยากร//นักเขียนด้าน
ความปลอดภัย

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อุบัติเหตุกับโบนัส!


อุบัติเหตุกับโบนัส!
ครั้งหนึ่งบริษัทเคยออกกฎระเบียบ
หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจะมีผลกระทบ
ในการพิจารณาเรื่องของโปนัส
ประจำปีของทุกคน..
....
ในอดีตผมเห็นด้วยกับวิธีการนี้
เพราะทุกคนต้องผิดชอบ
กับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เพราะอุบัติเหตุไม่ใช่
"เรื่องของส่วนตัว" แต่มันคือ "เรื่องของส่วนรวม"
...
วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีหลายปี
จนสุดท้ายก็เกิดอุบัติเหตุขึ้น
กับพนักงานน้องใหม่ที่เข้ามา
ทำงานได้เพียงเดือนเดียว
ผลกระทบที่พนักงานคนนี้
ได้รับนอกจากเจ็บตัวแล้ว
ยังต้องเจ็บใจอีก
...
เพราะต้องตกเป็นจำเลย
ในคดีที่ทำให้ทุกคนได้โปนัส
ในปีนั้นเพียงแค่ครึ่งเดียวจากที่
เคยได้.สถานะภาพในสังคม
การทำงานแทบไม่มีที่ยืน
คะแนนทางความสุขติดลบ
...

นี้เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ผมรู้สึก
สงสารเห็นใจพร้อมกับชื่นชม
ในหัวใจของพนักงานน้องใหม่คนนี้
ที่ไม่ถอดใจและต่อสู้ทำงาน
ในสถานะภาพ"จำเลยของสังคมการทำงาน"
ตอนนี้สภาพร่างกายของพนักงานน้องใหม่
แข็งแรงสมบุรณ์แต่สภาพจิตใจคงต้องใช้
ระยะเวลาในการเยี่ยวยาให้กลับมาดีเหมือนเดิม
...
=>อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่เราไม่คาดคิด
     =>แต่สามารถควบคุมป้องกันได้
         =>หากเรารู้เท่าทันอันตราย
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร//นักเขียน
ด้านความปลอดภัย

ภาพ: www.Pixabay.com
ติดต่อ086 625 7218

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559


"Autonomous Safety"

มันคงเป็นเรื่องดีไม่น้อย
ถ้าความปลอดภัยเกิดขึ้นเอง
เหมือนเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำ
โดยไม่ต้องบังคับออกกฎระเบียบ
มาบังคับมากมาย.เยอะจนคนออก
กฎระเบียบต่างๆยังจำไม่ได้
...
ในฐานะจป. เราเองก็ไม่มีความสุข
ที่ต้องหยุดงานที่มีพฤติกรรม
หรือสภาพการทำงานงาน
ที่มีความเสี่ยงอันตราย
เพราะมันทำให้งานของท่าน
ล่าช้า หงุดหงิด หัวเสียได้
สุดท้ายท่านก็ไม่พอใจ
การทำงานของ จป.

สิ่งที่ จป.เค้าบอกกล่าวเตือนท่านเค้าทำไป
ด้วยความรักและห่วงใยท่านมากกว่า
เพราะเราเข้าใจดีว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น
บริษัทขาดคุณธุรกิจเค้าคงไม่เจ๊งหรอก
แต่ชีวิตและครอบครัวคุณต่างหากที่เจ๊ง
...
สังคมการทำงานจะมีความสุขไม่น้อย
หากทุกคนปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี
“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร//นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

" จป.จบใหม่จะเริ่มงานวันแรกอย่างไร "


จากประสบการณ์ตรงวันแรกที่เริ่มงาน
1วันแรกไม่ต้องรีบทำอะไรมากครับ
พยามเดินสำรวจพื้นที่รอบๆโรงงาน
ให้มากๆเพื่อจะได้รู้สภาพแวดล้อม
โดยรอบของโรงงานว่ามีความเสี่ยง
หรืออันตรายอะไรบ้าง
...
2.พยายามทำความรู้จักกับพนักงาน
แนะนำตัวว่าเราเป็นใครมาทำอะไร
และสอบถามว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
ภายในโรงงานบ่อยไหมหรือสิ่งที่เขา
อยากให้เราช่วยเหลืออะไรบ้าง
แสดงความจริงใจและอ่อนน้อมถ่อมตน
หากเข้าหาหัวหน้างานหรือผู้จัดการของแผนกนั้นๆ
เพราะอนาคตพนักงานเหล่านี้จะช่วยงาน
และสนับสนุนเราได้มากทีเดียว
...
3.เมื่อได้ข้อมูลพอสมควรเริ่มวางแผน
จัดลำดับความสำคัญโดยอาจจะใช้
หลักเกณฑ์ความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุ
หรือจะใช้ความรุนแรงของอุบัติเหตุ
มาพิจารณาเลือกความสำคัญก่อนหลังก็ได้
...
4.ช่วงแรกๆอาจจะไม่ได้รับความร่วมมือ
เท่าไรแต่อย่าท้อพยายามทำโครงการ
ให้สำเร็จก่อนอย่างน้อย 1 โครงการ
ในช่วงระยะเวลาที่ทดลองงานเพื่อ
สร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเอง
เมื่อเราทำสำเร็จก็จะเริ่มมีพนักงาน
เข้ามาช่วยเหลือหรือสนับสนุนเรา
มากน้อยขึ้นอยู่กับความสำเร็จที่เราทำได้
...
5.พยายามพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ทบทวนบทเรียนหรือหาความรู้เพิ่มเติม
เรื่องไหนที่จำเป็นควรขอหัวหน้าหรือนายจ้าง
ไปฝึกอบรมเพิ่มเติม หากบริษัทไม่อนุมัติ
บางครั้งอาจต้องใช่เงินตัวเองเพื่อไปฝึกอบรม
คิดว่าเป็นการลงทุนให้ตัวเองเก่งขึ้น
ข้อดีของการใช้เงินตัวเองคือเราจะตั้งใจ
เรียนมาก เพราะค่าอบรมราคาไม่ใช่ถูกๆ
...
6.เริ่มแรกอย่ามองถึงตัวเงินมาก
ให้มองว่างานที่เราทำมันสอนอะไร
และเราสามารถนำความรู้ไปต่อยอดอาชีพ
อะไรได้บ้าง เช่น อาจไปเป็นที่ปรึกษา
วิทยากร นักเขียน Auditor หรือไปทำธุรกิจเช่น
ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ออกแบบระบบความปลอดภัย
ตัวแทนขายอุปกรณ์ PPE ก็ได้
...
สุดท้ายขอให้น้องๆจป.ที่กำลังจะจบ
หรือจบแล้ว ที่กำลังจะเริ่มงานใหม่ขอให้
ประสบความสำเร็จ..เพราะอาชีพที่เรากำลังทำ
อยู่นั้นมันมีคุณค่ามาก มันช่วยให้หลายคนปลอดภัย
จากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานนับว่า
เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่
...
บางครั้งการทำดีอาจไม่มีใครรู้
แต่เราเองเท่านั้นที่รู้ว่า
สิ่งที่เราทำนั้นเพื่อใคร
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่

ภาพ: จากอินเทอร์เนต
ติดต่อ086 625 7218

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

"บททดสอบทรงคุณค่า"


ทุกหน้าที่มักจะมีบททดสอบเสมอ
บททดสอบที่ว่านี้ไม่เฉพาะเจาะจง
แค่หน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบ
แต่อาจรวมถึงสถานะการณ์ต่างๆ
ที่ไม่คาดคิด ที่เกิดขึ้น จากตัวเรา
หรือบุคคลอื่น
...
บททดสอบที่เกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือร้าย
มันก็คือประสบการณ์ชีวิตที่ติดตัวเรา
ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
รายวัน การปรับอารมณ์ให้เข้ากับ
เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเฉพาะหน้า
ที่ไม่ค่อยมีแบบแผนอย่างที่ใจ
ต้องการเท่าไร
...
บททดสอบเปรียบเสมือนตัวชี้วัด
ความรู้ความสามารถวุฒิภาวะต่างๆ
ของเรา ยิ่งเจอบททดสอบมากเท่าไร
เราก็เก่งขึ้น แก้ปัญหาดีขึ้น ควบคุม
อารมณ์ได้เร็วขึ้น ตัดสินใจแม่นยำขึ้น
...
การหนีปัญหาไม่ใช่ทางออก
มีแต่จะทำให้ชีวิตติดขัด
เมื่อเจอปัญหาให้ตั้งสติแล้ว
คิดใหม่ว่ามันคือ"บททดสอบ"
ที่ทำให้เราก้าวไปข้างหน้า
=========================
ความปลอดภัยก็เหมืออากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=========================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
www.facebook.com/safety.seminar
Credit:ภาพจาก www.Pixabay.com

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

"สูงกว่า ต่ำกว่า เท่ากัน"



จป.มีความรู้และเทคนิค
ด้านความปลอดภัย"สูงกว่า"
พนักงานหรือผู้รับเหมา
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแนะนำ
ชี้แจงความเสี่ยงอันตรายต่างๆ
ที่ทีมเค้าอาจมองไม่เห็นหรือ
คาดไม่ถึงให้ทราบเพื่อช่วย
ให้พนักงานหรือผู้รับเหมาปลอดภัย
ให้มากยิ่งชึ้น
...
จป.มีความรู้และเทคนิคหน้างาน
หรือหลักวิศวกรรม"ต่ำกว่า"ก็ควร
หยุดและฟังพนักงานหรือผู้รับเหมา
เพราะด้วยประสบการที่ผ่านมาพบว่า
บางงานคำแนะนำของผู้รับเหมาดี
และปลอดภัยกว่า จป.อย่างผมซะอีก
...
จป.มีความรู้และเทคนิคหน้างาน
หรือความปลอดภัย"เท่ากัน" ก็ควร
ช่วยเหลือเกื้อหนุนงานของกันแบบ
Win.winกันทั้งสองฝ่าย พนักงาน
ผู้รับเหมางานสำเร็จตามกำหนด
จป.ก็ได้ผลงานที่และสถิติการเกิด
อุบัติเหตุลดลง
...
อยากให้คนอื่นแสดงพฤติกรรมที่ดีกับเรา
เราต้องแสดงพฤติกรรมดีกับคนอื่นก่อนเสมอ
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

"ทำผลงานให้เกินความคาดหวัง"


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาส
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดหลายเรื่อง
กับวิทยากรด้านความปลอดภัยท่านหนึ่ง
ที่มากด้วยความสามารถอีกท่านในประเทศ
ที่แชร์ประสบการการทำงานกว่า 15 ปี
ให้ฟังซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากสำหรับผม
...
ซึ่งตลอดระยะเวลาการเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง
จากกรุงเทพถึงชลบุรีผมตั้งใจฟังทุกคำพูด
ซึ่งสิ่งที่ผมรับรู้ได้เลยว่าในสมัยที่พี่เค้า
เป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัยของบริษัท
สัญชาติออสเตรเลียพี่คนนี้ยอมทำทุกอย่าง
เพื่อให้พนักงานทุกคนปลอดภัย
....
พี่เค้าเล่าให้ฟังว่าการสร้างทีมนั้น
ช่วงแรกลำบากและเหนื่อยมากๆ
ในการสร้างทีมความปลอดภัยให้เกิดขึ้น
ระยะเวลา3 ปีที่ทุ่มเทนั้นผลลัพธ์ที่ได้คือ
ทุกคนมีส่วนร่วมในเรื่องความปลอดภัย
ช่วยกันดูพื้นที่การทำงานของตัวเอง
ให้ปลอดภัยหากพบใครหรือกิจกรรมใดที่
ไม่ปลอดภัยก็บอกกล่าวสั่งหยุดงานกันเอง
โดยอัตโนมัติ..ผมยิงคำถามไปว่าพี่ทำได้ไงครับ?
....
พี่เค้าบอกว่าทุกครั้งที่พี่ทำงานพี่คิดว่า
วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่พี่ทำงานในบริษัทนี้
และทุกงานที่ทำไม่ได้เพียงทำเพื่อให้เสร็จ
แต่ต้องทำให้งานนั้นเกิดความคาดหวังของ
ผู้รับด้วย
===============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
===============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
086-625-7218
CR:คุณอัจฉรา รุ่งศรี
สำหรับเรื่องราวดีๆ
ที่ผมจะฟังคนเดียวไม่ได้