วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

"ยกย้ายให้ปลอดภัย"


นักยกน้ำหนักระดับโลก
ฝึกฝนวิธีการยกที่ถูกต้อง
เป็นล้านๆครั้ง เพื่อให้
สามารถยกน้ำหนักได้มากขึ้น
และช่วยลดอาการบาดเจ็บ
ของนักกีฬาได้เป็นอย่างดี
...
การยกย้ายวัสดุในการทำงาน
ด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุ
ของการการบาดเจ็บได้โดยง่าย
"9วิธีลดการบาดเจ็บจากการยกย้าย"
1.ควรประเมินน้าหนักก่อนยก
2.ถ้ายกไม่ไหวควรให้เพื่อนช่วย
3.ใช้เครื่องมือช่วย เช่น รถเข็น
    รอก ปั่นจั่น รถยก ฯลฯ
4.ก่อนยกดูพื้นที่โดยรอบ
    กว้าง แคบ ลาดเอียง
พื้นมั่นคง ไม่มีสิ่งกีดขวาง
5.ขณะยก ย่อเข่า หลังตรง ไม่ก้มหลัง
6.จับให้มั่น แขนตรงแนวเดียวกับลำตัว
7.ยกให้แนบลำตัว ยกของให้ต่ำกว่าเอว
8.ห้ามบิดเอี้ยวตัวขณะยก
9.ให้หมุนฝ่าเท้าด้านข้างเมื่อเปลี่ยนทิศทาง
เมื่อพร้อมแล้วยกย้ายได้..สู้โว้ย!!
 
=================================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=================================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/safetycorner/

Creditภาพ www.pixabay.com

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558

"ภาพยนต์เรื่องสุดท้าย"





นานมาแล้วที่ไม่ได้ชมภาพยนต์
คิดถึงเบาะนุ่มๆจอกว้างสุดตา
ระบบเสียงคุณภาพรอบตัว
ป๊อบคอร์นรสซีสกับโค๊ก1แก้ว
สุดแสนจะฟินเฟอร์เลยฮับ
...
เมื่อก่อนเวลาดูหนังซื้อตั๋วเสร็จ
ก็เดินเข้าในโรงหนังหย่นก้น
ลงเบาะดูหนังเพลินๆจนจบ
โดยไม่เคยคิดเลยว่าหาก
ไฟไหม้ในโรงหนังจะทำไง?
...
บางที่ก็มีสอนวิธีการหนีไฟด้วย
การ์ตูนง่ายๆเข้าใจ้ได้เลยโดย
ให้เราสังเกตุป้ายทางหนีไฟ
หากเกิดเหตุแล้วใช้ประตูนั้น
ออกมาภายนอกให้เร็วที่สุด
...
ออกมาแล้วจะไปทางไหนดี
เราต้องเอาไปคิดต่อเองว่า
จะวิ่งไปที่ลานจอดรถแล้ว
ขับรถกลับบ้านเมื่อถึงบ้าน
แล้วเราจะปลอดภัยจริงไหม?
หรือทำยังไงก็ได้ให้ฉันยังมี
ลมหายใจอยู่บนโลกใบนี้
....
เป็นเรื่องที่น่าห่วงไม่น้อยเลย
หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง
คงจะมีหลายชีวิตที่ต้องตาย
จากความวุ่นวายที่ทุกคนต่าง
ต้องการเอาชีวิตรอด
...
ห้างร้านหรือโรงภาพยนต์
ที่เป็นอาคารสาธารณะควร
จะต้องมีแผนฉุกเฉินที่ชัดเจน
มีการฝึกซ้อมอย่างจริงจรัง
พร้อมตอบโต้หากเกิดเหตุ
ได้ทุกเวลาเพื่อรักษาชีวิต
ที่มีค่าของลูกค้าที่มาใช้บริการ
...
ตึกอาคารหากสูญเสียเรา
พอที่จะสร้างใหม่ให้สวยได้
แต่ชีวิตที่เสียไปแล้วจะสร้าง
กันใหม่มันคงเป็นไปไม่ได้
====================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
ถ้าขาดก็เท่ากับตาย
====================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

"ปัญหาพารวยแต่หนีปัญหาจะพาเราซวย"



จป.ที่เงินเดือนหรือค่าตัวสูง
ส่วนมากเป็นคนที่แก้ปัญหาเก่ง
ยิ่งแก้ปัญหาได้มาก "ยิ่งรวยมาก"
เพราะทุกบริษัทที่จ้างเรามาเพื่อ
แก้ปัญหาให้เขานั้นเอง
...
บริษัทไหนไม่มีปัญหาเขา
ก็ไม่รู้จะจ้างคุณมาให้เสียเงิน
เสียเวลาทำไม..
หลายคนรู้สึกเบื่อ เซ็ง บ่น
งานเยอะ เงินน้อย อุบัติเหตุมาก
ไม่เห็นมีใครให้ความสำคัญเลย
เป็นพวกท่านจะทำอย่างไร
...
สำหรับผมคงบอกไปว่า
"ลาออกครับ" จะอยู่ให้
เขาด่าให้เป็นทุกข์ทำไม
ถ้าคุณคิดว่าคุณเก่งจริง
ไม่ต้องกลัวจะตกงาน
เพราะงานมันจะวิ่งมา
หาคุณเอง
...
ช่วงสิ้นปีนี้้หลายๆคนคง
อยากจะเปลี่ยนงานใหม่
ขอให้โชคดี..ได้งานที่ใช่
เงินเดือนที่โดน สังคมที่เยี่ยม
""""""""""""""""""""""""""""""""""
อย่าเปลี่ยนงานเพื่อหนีปัญหา
แต่จงเปลี่ยนงานเพื่อ"เพิ่มคุณค่า"
ให้ผู้อื่นและตัวคุณเอง
""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
ถ้าคุณขาดมีโอกาสตายได้

อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

"จป.คุณธรรม "


กฎระเบียบต่างๆเป็นสิ่งที่ต้องทำ
ตามอย่างเคร่งครัดหากไม่ทำควร
มีบทลงโทษเพื่อให้เกิดความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยในสังคม
...
ในประสบการณ์ของ จป.หลายท่าน
คงพบกับเหตุการฝ่าฝืนหรือไม่ทำ
ตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย
ส่วนหนึ่งเป็นสาเหตุมาจากเรื่อง
ของความคิดและพฤติกรรมความ
เสี่ยงอันตรายของพนักงาน..
...
บางครั้งเราเองก็รีบด่วนตัดสินใจ
ว่าคนที่แสดงพฤติกรรมความเสี่ยง
เป็นพวกที่ชอบแหกกฎอยากดัง
ซึ่งบางครั้งพนักงานเหล่านั้นอาจ
ไม่รู้หรือพยายามทำตามกฎแล้ว
แต่ไม่ถูกต้องหรืออุปกรณ์PPE
ที่ใส่นั้นอาจใส่แล้วไม่สบายก็ได้
...
ในฐานะที่เราเป็น “จป.ที่มีคุณธรรม”
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไป
พูดคุยเพื่อจะได้ทราบปัญหาที่แท้จริง
และหา"ทางออก"ที่ถูกต้องปลอดภัย
ให้พนักงานเหล่านี้ด้วย
มันจะดีกว่าที่ชี้นิ้วและออกคำสั่ง
เสร็จแล้วเดินหนีไปด้วยความมึนงง
สงสัยของพนักงานที่ถูกตำหนิ
ซึ่งพนักงานเหล่านี้จะปฎิบัติตาม
กฎระเบียบก็ต่อเมื่อ จป.เดินผ่าน
คุณ จป.ที่รักคุณคิดว่าจริงไหม?
=======================
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
ถ้าคุณขาดมีโอกาสตายได้
=======================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ

Credit:ภาพจาก https://pixabay.com

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เป้าหมาย "การยศาสตร์"


การยศาตร์เป็นเรื่องของการนำหลัก
การทางด้าน ชีววิทยา จิตวิทยา
กายวิภาคศาสตร์ และสรีวิทยา เพื่อ
นำมาขจัดปัญหา ความไม่สะดวกสบาย
ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพไม่ดีเนื่องจาก
งานที่ต้องทำในสถาพแวดล้อมนั้น
...
พนักงานที่ถูกบังคับให้ปรับตัว
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน
ที่ไม่เหมาะสม งานที่ต้องทำแบบ
เดิมๆซ้ำๆซึ่งเป็นสาเหตุของการ
บาดเจ็บที่รุนแรง มือ ข้อมือ หลัง
หรือส่วนต่างๆของร่างกายได้
...
การบาดเจ็บมักจะค่อยๆเกิดขึ้น
อย่างช้าๆโดยที่พนักงาน
จะเริ่มรู้สึกถึงอาการผิดปกติ
ของร่ายเช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ที่จะนำไปสู่การบาดเจ็บที่รุนแรง
ในอนาคต
...
หลักพื้นฐานด้านการยศาตร์
ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดปัญหานั้น วิธีการ
ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ
การตรวจสอบสภาพการทำงาน
ร่วมกับผู้ปฎิบัติงานนั้นเพื่อดูว่า
หน่วยงาน การออกแบบ
เครื่องมืออุปกรณ์นั้นเหมาะ
กับขาดร่างกายของผู้ปฎิบัติ
งานมากน้อยเพียงใด
...
เป้าหมายของของการยศาตร์
คือการทำให้งานมีความเหมาะสม
กับผูปฎิบัติงาน
==========================
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
ถ้าคุณขาดมีโอกาสตายได้
==========================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/safetycorner/

Credit:ภาพจาก https://pixabay.com

ออกแบบงานตามหลัก"การยศาสตร์"




งานที่ดีต้องเหมาะกับผู้ที่ทำงาน
หรือปรับงานให้เหมาะกับคนนั้นเอง
งานสนุกสะดวกสบายเครื่องมือพร้อม
พนักงานก็ทำงานได้มากขึ้นผลผลิต
และคุณภาพเพิ่มขึ้น ต้นทุน การเจ็บป่วย
การลาออก ก็ลดลงตามมา
...
"สถานีหรือหน่วยงานที่พนักงาน"
ทำงานอยู่นั้นปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ
1.การออกแบบที่นั่งไม่เหมาะสม
2.การยืนทำงานเป็นเวลานาน
3.การทำงานที่ต้องเอื้อมสุดแขน
4.สภาพแวดล้อมการทำงาน
แสง เสียง ความร้อน สั่นสะเทือน
...
สถานีงานหรือหน่วยงานที่ดีนั้น
ต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับ
ขนาดร่างกายของผู้ที่ทำงานด้วย
โดยคำนึงถึงสรีระของแต่ละคน
1.ความสูงของศรีษะให้มีเนื้อที่
มากพอสำหรับคนที่สูงที่สุด
2.ความสูงของหัวไหล่ควรให้
เครื่องมือควรอยู่ในระดับ
ความสูไหล่และเอว
3.ระยะวงแขนเครื่องมือและ
ชิ้นงานไม่ควรห่างเกินไป
4.ความยาวของขาควรจัดให้
มีพื้นที่มากพอสำหรับยืดขา
พักเท้า
...
"เครื่องมือและอุปกรณ์หากไม่"
เหมาะสมก็อาจส่งผลมำให้เกิด
การบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้
1.เครื่องมือต้องดีมีมาตราฐาน
2.ควรใช้เครื่องมือที่สามารถใช้
กล้ามมัดใหญ่ได้ เช่น แขน ขา
3.เครื่องมือที่นำมาใช้สามารถใช้
ได้ทั้งผู้ที่ถนัดซ้ายและขวา
4.เครื่องมือควรมีฉนวนกันไฟฟ้า
ไม่ควรมีขอบและมุมแหลมคม
...
ในฐานะที่เราเป็น จป.เราจึงเป็น
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการ
นำหลักการยศาสตร์ไปใช้ใน
ออกแบบสถานีงาน ให้งานนั้น
เหมาะกับคนที่ปฎิบัติงานเพื่อ
ให้เขาเหล่านั้นปลอดภัย
และไม่เจ็บป่วยจากการทำงาน
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยเหมือนอากกาศ
ถ้าคุณขาดอาจมีโอกาสตายได้
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
Credit:ภาพจากhttps://pixabay.com
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้
https://www.facebook.com/safetycorner/