วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

"จป.คุณธรรม "


กฎระเบียบต่างๆเป็นสิ่งที่ต้องทำ
ตามอย่างเคร่งครัดหากไม่ทำควร
มีบทลงโทษเพื่อให้เกิดความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยในสังคม
...
ในประสบการณ์ของ จป.หลายท่าน
คงพบกับเหตุการฝ่าฝืนหรือไม่ทำ
ตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัย
ส่วนหนึ่งเป็นสาเหตุมาจากเรื่อง
ของความคิดและพฤติกรรมความ
เสี่ยงอันตรายของพนักงาน..
...
บางครั้งเราเองก็รีบด่วนตัดสินใจ
ว่าคนที่แสดงพฤติกรรมความเสี่ยง
เป็นพวกที่ชอบแหกกฎอยากดัง
ซึ่งบางครั้งพนักงานเหล่านั้นอาจ
ไม่รู้หรือพยายามทำตามกฎแล้ว
แต่ไม่ถูกต้องหรืออุปกรณ์PPE
ที่ใส่นั้นอาจใส่แล้วไม่สบายก็ได้
...
ในฐานะที่เราเป็น “จป.ที่มีคุณธรรม”
เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าไป
พูดคุยเพื่อจะได้ทราบปัญหาที่แท้จริง
และหา"ทางออก"ที่ถูกต้องปลอดภัย
ให้พนักงานเหล่านี้ด้วย
มันจะดีกว่าที่ชี้นิ้วและออกคำสั่ง
เสร็จแล้วเดินหนีไปด้วยความมึนงง
สงสัยของพนักงานที่ถูกตำหนิ
ซึ่งพนักงานเหล่านี้จะปฎิบัติตาม
กฎระเบียบก็ต่อเมื่อ จป.เดินผ่าน
คุณ จป.ที่รักคุณคิดว่าจริงไหม?
=======================
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
ถ้าคุณขาดมีโอกาสตายได้
=======================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ

Credit:ภาพจาก https://pixabay.com

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เป้าหมาย "การยศาสตร์"


การยศาตร์เป็นเรื่องของการนำหลัก
การทางด้าน ชีววิทยา จิตวิทยา
กายวิภาคศาสตร์ และสรีวิทยา เพื่อ
นำมาขจัดปัญหา ความไม่สะดวกสบาย
ปวดเมื่อย หรือมีสุขภาพไม่ดีเนื่องจาก
งานที่ต้องทำในสถาพแวดล้อมนั้น
...
พนักงานที่ถูกบังคับให้ปรับตัว
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน
ที่ไม่เหมาะสม งานที่ต้องทำแบบ
เดิมๆซ้ำๆซึ่งเป็นสาเหตุของการ
บาดเจ็บที่รุนแรง มือ ข้อมือ หลัง
หรือส่วนต่างๆของร่างกายได้
...
การบาดเจ็บมักจะค่อยๆเกิดขึ้น
อย่างช้าๆโดยที่พนักงาน
จะเริ่มรู้สึกถึงอาการผิดปกติ
ของร่ายเช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ที่จะนำไปสู่การบาดเจ็บที่รุนแรง
ในอนาคต
...
หลักพื้นฐานด้านการยศาตร์
ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดปัญหานั้น วิธีการ
ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ
การตรวจสอบสภาพการทำงาน
ร่วมกับผู้ปฎิบัติงานนั้นเพื่อดูว่า
หน่วยงาน การออกแบบ
เครื่องมืออุปกรณ์นั้นเหมาะ
กับขาดร่างกายของผู้ปฎิบัติ
งานมากน้อยเพียงใด
...
เป้าหมายของของการยศาตร์
คือการทำให้งานมีความเหมาะสม
กับผูปฎิบัติงาน
==========================
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
ถ้าคุณขาดมีโอกาสตายได้
==========================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/safetycorner/

Credit:ภาพจาก https://pixabay.com

ออกแบบงานตามหลัก"การยศาสตร์"




งานที่ดีต้องเหมาะกับผู้ที่ทำงาน
หรือปรับงานให้เหมาะกับคนนั้นเอง
งานสนุกสะดวกสบายเครื่องมือพร้อม
พนักงานก็ทำงานได้มากขึ้นผลผลิต
และคุณภาพเพิ่มขึ้น ต้นทุน การเจ็บป่วย
การลาออก ก็ลดลงตามมา
...
"สถานีหรือหน่วยงานที่พนักงาน"
ทำงานอยู่นั้นปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ
1.การออกแบบที่นั่งไม่เหมาะสม
2.การยืนทำงานเป็นเวลานาน
3.การทำงานที่ต้องเอื้อมสุดแขน
4.สภาพแวดล้อมการทำงาน
แสง เสียง ความร้อน สั่นสะเทือน
...
สถานีงานหรือหน่วยงานที่ดีนั้น
ต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับ
ขนาดร่างกายของผู้ที่ทำงานด้วย
โดยคำนึงถึงสรีระของแต่ละคน
1.ความสูงของศรีษะให้มีเนื้อที่
มากพอสำหรับคนที่สูงที่สุด
2.ความสูงของหัวไหล่ควรให้
เครื่องมือควรอยู่ในระดับ
ความสูไหล่และเอว
3.ระยะวงแขนเครื่องมือและ
ชิ้นงานไม่ควรห่างเกินไป
4.ความยาวของขาควรจัดให้
มีพื้นที่มากพอสำหรับยืดขา
พักเท้า
...
"เครื่องมือและอุปกรณ์หากไม่"
เหมาะสมก็อาจส่งผลมำให้เกิด
การบาดเจ็บอย่างรุนแรงได้
1.เครื่องมือต้องดีมีมาตราฐาน
2.ควรใช้เครื่องมือที่สามารถใช้
กล้ามมัดใหญ่ได้ เช่น แขน ขา
3.เครื่องมือที่นำมาใช้สามารถใช้
ได้ทั้งผู้ที่ถนัดซ้ายและขวา
4.เครื่องมือควรมีฉนวนกันไฟฟ้า
ไม่ควรมีขอบและมุมแหลมคม
...
ในฐานะที่เราเป็น จป.เราจึงเป็น
บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการ
นำหลักการยศาสตร์ไปใช้ใน
ออกแบบสถานีงาน ให้งานนั้น
เหมาะกับคนที่ปฎิบัติงานเพื่อ
ให้เขาเหล่านั้นปลอดภัย
และไม่เจ็บป่วยจากการทำงาน
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยเหมือนอากกาศ
ถ้าคุณขาดอาจมีโอกาสตายได้
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
Credit:ภาพจากhttps://pixabay.com
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้
https://www.facebook.com/safetycorner/

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

"วิทยากรที่มีคุณค่า"


วิทยากรมืออาชีพต้อง
คำนึงถึงประโยชน์ของ
ผู้ฟังเป็นอันดับแรกเสมอ
สิ่งที่ผู้ฟังต้องการคืออะไร
ได้ประโยชน์อะไรและ
คุ้มค่ากับเวลาและเงิน
ที่เสียไปหรือไม่
...
โดยต้องพูดในสิ่งที่รู้
และพูดในสิ่งที่รัก
เพราะผู้ฟังจะสามารถ
รับรู้ความรู้สึกภายใน
ได้ทันทีว่านี้คือ "ของจริง"
...
วิทยากรมืออาชีพ
ไม่ใช่แค่พูดให้คนฟังรู้เรื่อง
แต่ต้องพูดให้้คนฟังรู้สึก
ที่ผู้ฟังอยากนำไปปฎิบัติ
...
อาชีพวิทยากรคือผู้ให้
มือของผู้ให้จะสูงกว่า
มือของผู้รับเสมอ
...
"""""""""""""""""""""""""""""""""
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
ถ้าคุณอาจมีโอกาสตายได้
=====================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
Fan page :facebook.com/safetycorner
Bloger : http://safetyshaer.blogspot.com/
Credit:ภาพจาก www.pixabay.com

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

"ความปลอดภัยใครว่าไม่สำคัญ"



เราทุกคนล้วนมี
ความเสี่ยงอันตราย
ตั้งแต่ตื่นเช้ายันเข้านอน
เลยก็ว่าได้..เช่น
ตกเตียง ลื่นห้องน้ำ
ตกบันได รถเฉี่ยวชน
ไฟไหม้.ฯลฯ
...
หากเรายังคิดว่า
"ความปลอดภัย"
ไม่มีความสำคัญ
เท่ากับว่า...
เรายอมรับโอกาส
ที่จะเกิดอุบัติเหตุ
บาดเจ็บ พิการ ตาย
----------------------------------------
อุบัติเหตุ=อันตราย+การสัมผัส
=====================

อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก

Credit:ภาพจาก www.Securities.bnpparibas.com
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้
Facebook: Page:Safety corner

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

“แรงดันลมอันตรายแค่ไหน”


Credit : Picture for www. Pixabay .com


พฤติกรรมความเสี่ยงอันตราย
ที่พบบ่อยๆเป็นประจำคือ....
นำท่อลมมาเป่าทำความสะอาด
เสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ ชิ้นงานฯลฯ....
หรือใช้หยอกล้อกัน
....
ลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
มีแรงดันสูงเป็นอันตรายมาก
หากเสื้อผ้าเราหรือสิ่งของที่เป่า
ไม่ได้มีแค่ฝุ่น อาจมีเศษเหล็ก
จากการ เจียร ไส ตะไบ เจาะ
.....
พลาดปลิว ถูกดวงตา ร่างกาย
ได้รับบาดเจ็บนั้นจะรุนแรงหรือไม่
ขึ้นอยู่ที่ ขนาด แรงดัน น้ำหนัก
ของวัตถุชิ้นนั้นที่กระเด็นมาด้วย
...
แรงดันลมนั้นสามารถตัดเฉือน
ผิวหนังฉีกขาดเป็นแผลลึก
หากเข้าไปในกระแสเลือด
จนเกิดเป็นฟองอากาศขึ้น
....
อาจทำให้มีโอกาสเกิดภาวะ
การอุดตันของเส้นเลือด (Embolism)
บางรายมีอาการรุนแรงขั้นโคม่า
อัมพาต หรือเสียชีวิตได้เลย
....
เทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษ
ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณใช้อย่างถูกต้อง
และปลอดภัยหรือยัง?
-----------------------------------------

อุบัติเหตุ = อันตราย + การสัมผัส