วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

"วิธีสอนเรื่องความปลอดภัยให้คนดื้อ"



เรื่องมีอยู่ว่าผมมีโครงการ
ถ่ายวิดีโอคู่มือความปลอดภัย
สำหรับผู้มาเยี่ยมชมโรงงาน
วิดีโอนี้มีความยาว5นาที
แต่ผมใช้เวลาถ่าย4ชม.
เพราะในทีมมีแต่มือใหม่
...
นักแสดงก็ใช้ทีม คปอ.
ส่วนผมเป็นตากล้อง
และผู้กำกับตัดต่อเอง
ในระหว่างที่ถ่ายผมก็แอบ
ป้อนข้อมูลด้านความปลอดภัย
ที่จำเป็นสำหรับ คปอ.ไปด้วย
โดยที่เค้าไม่รู้ตัว
...
โดยการสมมุติเหตุการณ์ต่างๆ
ผ่านการแสดงโดยทีม คปอ.
เค้าเป็นคนกำหนดบทพูด
การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเอง
บางคนหาของมาประกอบฉาก
ให้ดูว่าเป็นสภาพการณ์ที่ไม่
ปลอดภัยด้ว...โอ้โห้สุดยอด
...
หลังถ่ายวิดีโอเสร็จพวกเรา
คุยกัน...เราน่าจะนำพวกที่ชอบ
ฝ่าฝืนกฎความปลอดภัย
มาเป็นนักแสดงนำโดยให้
รับบทเป็น จป เพื่อสอน
เรื่องความปลอดภัยคนอื่น
เพื่อเป็นการทบทวนเรื่อง
ความปลอดภัยให้เค้าไปด้วย
เฮ้ย!..ไอเดียดีผมเห็นด้วย
=========================
ความปลดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=========================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/safetycorner/
http://safetyshaer.blogspot.com/
Creditภาพ www.pixabay.com

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

"ระวัง ลื่น สดุด หกล้ม "


อุบัติเหตุจากการลื่น
สดุดหกล้ม เกิดบาดเจ็บ
เล็กน้อยไปจนขาหัก
แขนหัก สาเหตุหลัก
1.มาจากการกระทำของคน
ประมาณ95%เช่นเล่นfb
Line game ในขณะขึ้นลง
บันได ขึ้นbts ข้ามถนน
เดินไปซื้อของ เป็นต้น
2.สิ่งแวดล้อม เช่นพื้นขรุขระ
เปียก ต่างระดับ ลาดชั้นเป็นต้น
เหตุการณ์จะรุนแรงขึ้นเป็นทวีคูณ
หากมีความเร่งรีบเข้ามาเอี่ยวด้วย
...
วิธีเล่นมือถือให้สนุก
ต้องเล่นเมื่อเราอยู่ในที่ปลอดภัยนะ
=========================
 ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=========================
อภิรัตน์  ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที้
https://www.facebook.com/safetycorner/
http://safetyshaer.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

"3 หลักป้องกันอันตรายจากสารเคมี"


1.ป้องกันที่แหล่งกำเนิด
=>ใช้สารเคมีที่มีพิษน้อยกว่า
=>เปลี่ยนกระบวนการผลิตแบบใหม่
=>แยกกระบวนการผลิตที่อันตรายมากออกจากพื้นที่
=>ปิดกั้นแหล่งกำเนิดสารเคมีอันตรายให้มิดชิด
=>ติดตั้งระบบระบายอากาศแบบเฉพาะที่

2.ป้องกันที่ทางผ่าน
=>บำรุงรักษาพื้นที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
=>ติดตั้งระบบระบายอากาศแบบเจือจางสารเคมี
=>เพิ่มระยะห่างระหว่างคนกับสารเคมี
=>ตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นขอสารเคมี
ในบรรยากาศการทำงานประจำ

3.ป้องกันที่ตัวบุคคล
=>ให้ความรู้ฝึกอบรม
=>ลดชั่วโมงการทำงานลง
=>สับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่
=>ปฎิบัติงานในห้องที่ควบคุม
=>ตรวจสุขภาพร่างกาย
=>จัดหาอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็น
=>สวมใส่PPE
...
การป้องกันที่แหล่งกำเนิดนั้นเป็นการป้องกัน
ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและยั่งยืนถาวร
==============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย
==============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner
http://safetyshaer.blogspot.com
ภาพ : www.pixabay.com

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

"12 คำถามความปลอดภัย"


1.งานนี้ควรทำงานหรือไม่

2.รู้ว่าจะต้องทำอะไรและทำอย่างไร

3.ได้ข้อมูลทางเทคนิคครบแล้วหรือยัง

4.มีการชี้บ่งความเสี่ยงทั้งหมดในงานแล้ว และเพื่อนร่วมงานทราบ

5.งานนี้ทำได้วิธีเดี่ยวหรือไม่ ถ้าไม่ วิธีนี้เสี่ยงน้อยที่สุดใช่หรือไม่

6.งานนี้ไม่ก่อความเสี่ยงกับใครใช่หรือไม่

7.มีกำลังคนเพียงพอกับงานแล้ว

8.แต่ละคนมีทักษะพอที่จะทำงานโดยปลอดภัยหรือไม่

9.ทุกคนรู้ตำแหน่งและท่าทางการทำงานที่ถูกต้องหรือไม่

10.สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยครบแล้ว

11.ได้มีการปิดกั้นเขตพื้นที่ทำงานเพื่อกันผู้ไม่เกี่ยวข้องแล้ว 
หรือยัง

12.มีมาตรการเพื่อป้องความเสี่ยงของงานแล้วหรือยัง

เสียเวลาคิดเพียง 1 นาทีทุกครั้งก่อนเริ่มงาน
เพื่อความปลอดภัย สำหรับตัวเองและคนที่คุณห่วงใย
============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner
http://safetyshaer.blogspot.com
ภาพ www.pixabay.com

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

“ค้นหาอันตราย”


=>การชี้บ่งอันตราย เป็นกระบวนการของการค้นหา
     สิ่งที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วย
     จากกิจกรรมปฎิบัติงานของพนักงานหรือผู้รับเหมา
     การชี้บ่งอันตรายอาจทำด้วยวิธีใดก็ไดแต่
     ควรครอบคลุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด

   =>1.Checklist คือการนำแบบตรวจเข้าไปตรวจ
    สอบการทำงานเพื่อค้นหาอันตราย

   =>2.What-if Analysis คือกระบวนการที่ใช้คำถาม
   “จะเกิดอะไรขึ้น..ถ้า..เพื่อหาคำตอบในคำถาม
     มาชี้บ่งอันตราย

   =>3.HAZOP(Hazard and operability Study)
    เป็นเทคนิควิเคราะห์อันตรายและปัญหาระบบต่างๆ
   ที่ไม่สมบูรณ์ในการออกแบบโดยตั้งคำถาม
    สมมติสถานการณ์ต่างๆของการปฎิบัติงาน

   =>4.Fault Tree Analysis เป็นการชี้บ่งอันตราย
   หรืออุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่เกิดขึ้น เพื่อพิจราณา
   หาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและนำมาแตกย่อย
   เพื่อหาความผิดพลาดของเครื่องจักร
   หรือจากการปฎิบัติงาน เป็นเทคนิคการคิดย้อนกลับ

   =>5.FMEA(Failure Modes and Effects Analysis)
   เป็นเทคนิคชี้บ่งอันตรายในการวิเคราะห์
   ความล้มเหลวและผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็น
   การตรวจสอบชิ้นส่วนของเครื่องจักรอุปกรณ์
   แต่ละส่วนของระบบเมื่อเกิดความล้มเหลว

   =>6.Event Tree Analysis เป็นเทิคนิคชี้บ่งอันตราย
   ที่คาดการณ์ล่วงหน้าของผลกระทบเมื่อเกิดเหตุ
   การณ์แรกขึ้นเมื่อเครื่องจักรเสียหายหรือพนังงาน
  ผืดพลาดว่าสาเหตุแท้จริงเกิดขึ้นได้อย่างไร

==========================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
==========================

อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner

Creditภาพ www.pixabay.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

"ต้นทุนความปลอดภัย"


ธุรกิจที่ดีต้องมีกำไร
นายจ้างก็ต้องทำสิ้นค้า
ที่ดีมีคุณภาพออกมาก
ปรับปรุงเครื่องจักร
ใช้เทคโนโลยีต่างๆ
เพื่อลดต้นทุนการผลิต
เงินที่ลงทุนนั้นก็ได้คืน
มากกว่าเก่า..
...
ความปลอดภัยเช่นเดียวกัน
คือการลงทุนเพื่อสร้างกำไร
ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากอุบัติเหตุ
เสียไปแล้วไม่มีทางได้คืน
ก็คือขาดทุนต้นทุนเพิ่มกำไรลด
ธุรกิจก็จะล้มสลายได้เช่นกัน
...
คู่แข่งทางธุรกิจที่แท้จริง
อาจไม่ใช่บริษัทตรงข้าม
อาจจะเป็นธุรกิจเราเอง
ที่ไม่ปลอดภัยก็ได้
=======================
ความปลอดภัยเหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย
=======================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner

Creditภาพ www.pixabay.com

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

"ผู้นำความปลอดภัย"




อยากให้ลูกเรามีนิสัยดีพ่อแม่ต้อง
แสดงนิสัยหรือสิ่งดีๆให้ลูกเห็นบ่อยๆ
เช่นเดียวกับพฤติกรรมความปลอดภัย
องค์กรใดที่มีผู้นำหรือหัวหน้างานที่
ไม่เห็นความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย
ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ดีให้ลูกน้อง
ถือว่าเป็นตัวหายนะ..มีโอกาสสูงที่จะ
เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้มีคนตาย
ในองค์กรท่านได้
...
หากท่านเป็นผู้นำครอบครัว
ก็ย่อมอยากให้ลูกท่านปลอดภัย
เพราะเป็นเลือดเชื้อไขของท่าน
หากท่านเป็นผู้นำพนักงานต้อง
ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับลูกน้อง
ลูกน้องอาจไม่ใช่คนสำคัญของท่าน
แต่เขาเหล่านั้นก็เป็นคนสำคัญ
ของใครอีกหลายคน
======================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย
======================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner

Creditภาพ www.pixabay.com

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559

"คุณภาพของความสำเร็จ"


"สำเร็จ"ในพจนานุกรม
หมายถึงเสร็จหรือบรรลุ(ตามเป้าหมาย)
คุณภาพของความสำเร็จ"ภายนอก"
ความมีชื่อเสียงความนิยมชมชอบ
ยิ่งเข้มข้นคือความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
ทำให้เรามีความสุขตราบเท่าที่ดังอยู่
ความดัง ความชื่นชม การยกย่อง
เป็นสิ่งชั่วคราวที่เราหลุ่มหลงมัน
เมื่อความดังลดน้อยถอยลงไป
ใจเราก็ไม่สุขเพราะต้องไขว้คว้า
มันกลับมาอย่างเหน็ดเหนื่อย
...
คุณภาพความสำเร็จ"ภายใน"
วัดผลด้วยผลกระทบเชิงบวก
กับชีวิตตนเองและผู้อื่นร่วมถึง
สังคมส่วนรวม ให้เกิดความสุข
ทำให้ชีวิตดีขึ้นทำให้เกิดการ
พัฒนาการด้านต่างๆในสังคม
ถึงแม้ความสำเร็จนั้นจะไม่มี
ใครรู้จักก็ตาม ..แต่ใจเราเอง
รับรู้และสัมผัสมันได้เป็นรางวัล
จากภายในที่น้อยคนนักจะได้เห็น
...
=======================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=======================

อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner

Creditภาพ www.pixabay.com

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559

"ยิ่งแข่งยิ่งแพ้"

การแข่งขันถือเป็นเรื่องที่ดี
ช่วยให้เรากระตื้อรื้อร้น
ไม่หยุดนิ่งเพราะเราหยุด
เท่ากับรอให้คู่แข่งแซงหน้า
คนที่หยุดพัฒนาตัวเอง
ไม่ต่างอะไรกับคนตาย
...
การแข่งขันที่ดีควรมี
น้ำใจเป็นนักกีฬา
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
การโกงคู่แข่งขัน
อาจทำให้คุณชนะ
แต่ใจคุณแพ้ตั้งแต่
ยังไม่ได้เริ่มแข่ง
======================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
======================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากรและนักเขียน
ด้านความปลอดภัยมืออาชีพ
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/safetycorner/

Creditภาพ www.pixabay.com