วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"เพศใดชอบความเสี่ยงมากกว่า?"

"เพศใดชอบความเสี่ยงมากกว่า?"
Dr. Jame P.Byrner แห่งมหาวิทยาลัยTemple
ได้ทำการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งได้คำตอบว่า
"เพศชายมักชอบความเสี่ยงมากกว่า"
"เพศหญิงมักหลีกหนีความเสี่ยง"
การวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัยอย่างไร?
...
จากสถิติการประเมินความเสี่ยงอันตราย
ระหว่างเพศชายและเพศหญิงพบว่าเพศหญิง
มีการให้คะแนนความเสี่ยงอันตรายสูงกว่า
ส่วนเพศชายจะยอมรับหรือหยวนๆกับความเสี่ยง
อันตรายสูงกว่าเพศหญิง
...
ยกตัวอย่าง สามีเวลาเลิกงานกินเหล้ากลับบ้านผิดเวลา
แอบมีกิ๊ก หากเกิดภรรยาจับได้ สามี มีความเสี่ยงสูง
ที่อาจได้รับอัตรายถึงขั้นหยุดหายได้
แต่สามีก็ยอมเสี่ยงอันตรายเหล่านั้น
ภรรยาที่ไม่ชอบเสี่ยงจึงหลีกหนีความเสี่ยงดังกล่าว
โดยการริบเงิน บัตรเครดิต เช็คสลิปเงินเดือน
ของสามีไว้ซึ่งสามีมองสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา
ไม่น่ากลัวหากเทียบกับการที่เห็นภรรยาซื้อเป็ดมาเลี้ยงที่บ้าน!
=====================================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=====================================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่

ภาพ: www.Pixabay.com
ติดต่อ086 625 7218

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"ช่วงเวลาไหนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด?"


คำตอบคือช่วงเวลาที่เลิกงาน.วันหยุดยาว
เพราะอะไร เมื่อเลิกงานทุกคนทิ้งกฎระเบียบ
ไว้ที่ทำงานหมด พบว่าพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายสูงขึ้น
เพราะตอนอยู่นอกโรงงานเราสามารถทำอะไรก็ได้
ไม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยอีกต่อไป..
...
ความเสี่ยงอันตรายไม่ได้มีแค่ในโรงงาน
แต่มันมีอยู่รอบตัวเราทุกที่ทุกเวลา...
ความปลอดภัยก็เช่นเดียวกันหากติดตัว
หรือหยั่งลึกลงไปในจิตสำนึกของเราเมื่อไร
มีความเป็นไปได้ที่เรานั้นจะไกลห่าง
อุบัติเหตุ..การบาดเจ็บ.และเจ็บป่วย
ทั้งในโรงงาน..และนอกโรงงานครับ
=============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่

ภาพ: www.Pixabay.com
ติดต่อ086 625 7218

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"ยิ่งให้ ยิ่งได้"


ผมได้ยินได้ฟังคำนี้มาบ่อยมาก
แต่ไม่เคยเข้าใจคำนี้จริงๆซักที
ช่วงแรกผมเริ่มให้ความช่วยเหลือคนอื่น
เช่น ให้ทาน ทำบุญ ช่วยงานคนอื่น
พอทำไปซักระยะเริ่มท้อเพราะ
ไม่เห็นได้อะไรตอบแทนสิ่งที่ทำลงไปเลย..
เมื่อเริ่มคิดสมองก็สั่งการทันที..หยุดเถอะ
เหนื่อยมากแล้ว..พักบ้างอย่าคิดมาก
 สมองเริ่มสั่งให้ร่างกายและจิตใจให้หยุด
...
สุดท้ายสิ่งที่ทำมาล้มเหลวไม่เป็นท่า
ผมใช้เวลาทบทวนหาสาเหตุที่ทำไม่สำเร็จคืออะไร
สุดท้ายได้คำตอบว่าสิ่งที่เราทำให้คนอื่นนั้น
ไม่ได้ให้ด้วยใจจริงๆแต่ต้องการให้คนอื่น
ตอบแทนเรากลับมาบ้างให้คนอื่นรัก
และชื่นชมในตัวเราบ้างก็เท่านั้นเอง
....
พอไม่เป็นดั้งที่ใจหวัง ผลคือ
 ยิ่งทำยิ่งเหนื่อยไม่มีความสุข
รู้สึกโมโหบ่นทำดีไม่ได้ดีทำไปทำไม
เสียใจ..ทำตัวแย่..ไม่รักตัวเอง..ทำตัวขวางโลก
เมื่อคิดไม่ดีชีวิตก็ตกต่ำดำดิ่ง..ตามใจคิด
...
เริ่มมีสติเริ่มคิดเป็น..เริ่มเห็นหนทางแก้ไข
เปลี่ยนวิธีการคิดใหม่จิตใจเราก็เริ่มดีขึ้น
ทุกวันนี้ผมรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่ได้ช่วยผู้อื่น
ทุกวันทุกวินาทีของผมตอนนี้ล้วนมีค่า
ผมรักและชื่นชอบตัวเองมากกว่าเดิม
เพราะว่าผมได้นำความรู้ไปช่วยเหลือ
ไปบอกคนอื่นให้เค้ามีความปลอดภัย
มากขึ้นกว่าเดิม..ทำให้ชีวิตเค้าดีขึ้น
หากไม่เชื่อลองทำดูแล้วคุณจะรู้
ว่า”การให้มันยิ่งใหญ่ขนาดไหน”
===============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
===============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่

ภาพ: www.Pixabay.com
ติดต่อ086 625 7218

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"กินยาไม่ทันคิด ลูกน้อยมีสิทธิ์สิ้นใจ"


เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผม
ตอนนี้ภรรยาผมตั้งท้องได้5เดือน
เธอป่วยเป็นไข้หวัดและไอหนักมาก
ด้วยความที่ผมเป็นห่วงจึงไปซื้อยาแก้ไอ
ที่ร้านค้าปลีกแถวบ้านโดยที่ไม่ทันคิด
แต่ภรรยาผมเป็นคนรอบครอบเธอจึง
ไม่กินยาที่ผมซื้อมาให้...
...

วันรุ่งขึ้นผมรีบตื่นแต่เช้ามืดพาเธอ
ไปหาหมอที่คลีนิกที่เธอไปฝากท้อง
ผมขอคุณหมอเข้าไปห้องตรวจด้วยเพื่อ
นำยาที่ซื้อมาเมื่อวานให้คุณหมอตรวจดู
โดนครับ..โดนคุณหมอดุผมเป็นชุดเลย..
ครั้งต่อไปถ้าไม่มั่นใจหรือไม่รู้ไม่ควรซื้อ
เพราะยาบางตัวมีผลกับเด็กในท้องภรรยาคุณ
นะ
ผมสตั้นไป10วิ..เพราะเกือบเสียสิ่งที่มีค่า
ที่สุดในชีวิตเพียงแค่ด่วนตัดสินใจและเร่งรีบ
เพราะความไม่รู้เอาง่ายและเร็วไว้ก่อน
โดยไม่ทันคิดถึงผลกระทบต่อคนรอบข้าง
เลยแม้แต่นิดเดียว
==================================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
==================================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
ติดต่อ086 625 7218
ภาพ:www.pixabay.com

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"เราทำได้ ถ้าคิดว่าทำได้"


วันที่เริ่มอาชีพ จป ครั้งแรกในชีวิต
ทำให้พบว่าสิ่งที่ร่ำเรียนมามันไม่พอ
อีกต่อไปแล้ว มีหลายเรื่องที่ผมไม่รู้
โชคดีได้google เป็นที่ปรึกษา
บริษัทส่งไปอบรมบ้างใช้เงินตัวเองบ้าง
ไปเรียนรู้เพิ่มเติมความรู้ตลอดเวลา
ทุกวันนี้ก็ยังทำแบบนี้อยู่เสมอ
...
เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นล้วน
มีกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่างกัน
แต่ละองค์กรก็มีการบริหารด้าน
ความปลอดภัยที่ไม่เหมือนกัน
ผมเริ่มงานกับบริษัทไม่ใหญ่มาก
งบประมาณความปลอดภัยน้อย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วผมคิดว่าคุณ
คงคิดว่าผมไปไม่รอด..ถูกต้องครับ
กว่าจะตั้งสติและกลับมาทำงานได้
ก็ใช้เวลานานพอสมควร..
...
เริ่มแรกผมใช้วิธีลงเดินหน้างานบ่อยขึ้นๆ
เข้าไปพูดคุยพนักงานฝ่ายผลิตมากขึ้น
สังเกตุกิจกรรมงานของเค้ามากขึ้น
ว่าตรงไหนเป็นจุดเสี่ยงอันตราย
จดบันทึกแล้วนำไปเสนอในที่ประชุม
คปอ.สรุปเป็นรายงานเสนอให้นายจ้าง
ทำแบบนี้อยู่หลายเดือน
...
แรกๆคปอ.ไม่ออกความเห็นใดๆ
ปล่อยให้ผมพูดอยู่คนเดียวเสมอ
หลังๆก็เริ่มมีการพูดคุยแลกเปลี่ยน
คปอ.ก็เริ่มทำหน้าที่โดยนำเรื่องในที่
ประชุมไปเล่าให้ทีมงานของตัวเองฟัง
ช่วยกันเตือนเห็นอะไรไม่ปลอดภัย
ก็เตือนกันแบบใจดีและดุบ้างปะปนกันไป
....
นายจ้างเริ่มเห็นทีม คปอ.ทำงาน
เริ่มให้งบสนับสนุน ซื้อรองเท้าSafety
เปลี่ยนไฟสำรองฉุกเฉิน ซ่อมหลังคา
ซื้อเก้าอี้แบบมีพนักพิง ได้จัดกิจกรรม
Safety day ซื้อหน้ากากอนามัยใหม่
เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่าง เพิ่มป้ายสัญลักษณ์
ความปลอดภัยต่างๆและอะไรอีกมาก
ทีม คปอ.ดีใจกันมากที่ได้เห็น
การเปลี่ยนแปลง พนักงานเริ่มเข้ามา
มีส่วนร่วมในด้านความปลอดภัยมากขึ้น
....
ผมนึกย้อนกลับไปคงจะไม่มีเหตุการณ์
แบบนี้เกิดขึ้นแน่ๆ ถ้าผมเอาแต่บ่น
และโทษคนอื่นตลอดเวลา
โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย
ปล่อยให้ความเบื่อหน่าย
ทำลายกำลังใจตัวเอง
=============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner
ติดต่อ 086 625 7218