วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

"เราทำได้ ถ้าคิดว่าทำได้"


วันที่เริ่มอาชีพ จป ครั้งแรกในชีวิต
ทำให้พบว่าสิ่งที่ร่ำเรียนมามันไม่พอ
อีกต่อไปแล้ว มีหลายเรื่องที่ผมไม่รู้
โชคดีได้google เป็นที่ปรึกษา
บริษัทส่งไปอบรมบ้างใช้เงินตัวเองบ้าง
ไปเรียนรู้เพิ่มเติมความรู้ตลอดเวลา
ทุกวันนี้ก็ยังทำแบบนี้อยู่เสมอ
...
เพราะกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นล้วน
มีกิจกรรมที่เป็นอันตรายต่างกัน
แต่ละองค์กรก็มีการบริหารด้าน
ความปลอดภัยที่ไม่เหมือนกัน
ผมเริ่มงานกับบริษัทไม่ใหญ่มาก
งบประมาณความปลอดภัยน้อย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วผมคิดว่าคุณ
คงคิดว่าผมไปไม่รอด..ถูกต้องครับ
กว่าจะตั้งสติและกลับมาทำงานได้
ก็ใช้เวลานานพอสมควร..
...
เริ่มแรกผมใช้วิธีลงเดินหน้างานบ่อยขึ้นๆ
เข้าไปพูดคุยพนักงานฝ่ายผลิตมากขึ้น
สังเกตุกิจกรรมงานของเค้ามากขึ้น
ว่าตรงไหนเป็นจุดเสี่ยงอันตราย
จดบันทึกแล้วนำไปเสนอในที่ประชุม
คปอ.สรุปเป็นรายงานเสนอให้นายจ้าง
ทำแบบนี้อยู่หลายเดือน
...
แรกๆคปอ.ไม่ออกความเห็นใดๆ
ปล่อยให้ผมพูดอยู่คนเดียวเสมอ
หลังๆก็เริ่มมีการพูดคุยแลกเปลี่ยน
คปอ.ก็เริ่มทำหน้าที่โดยนำเรื่องในที่
ประชุมไปเล่าให้ทีมงานของตัวเองฟัง
ช่วยกันเตือนเห็นอะไรไม่ปลอดภัย
ก็เตือนกันแบบใจดีและดุบ้างปะปนกันไป
....
นายจ้างเริ่มเห็นทีม คปอ.ทำงาน
เริ่มให้งบสนับสนุน ซื้อรองเท้าSafety
เปลี่ยนไฟสำรองฉุกเฉิน ซ่อมหลังคา
ซื้อเก้าอี้แบบมีพนักพิง ได้จัดกิจกรรม
Safety day ซื้อหน้ากากอนามัยใหม่
เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่าง เพิ่มป้ายสัญลักษณ์
ความปลอดภัยต่างๆและอะไรอีกมาก
ทีม คปอ.ดีใจกันมากที่ได้เห็น
การเปลี่ยนแปลง พนักงานเริ่มเข้ามา
มีส่วนร่วมในด้านความปลอดภัยมากขึ้น
....
ผมนึกย้อนกลับไปคงจะไม่มีเหตุการณ์
แบบนี้เกิดขึ้นแน่ๆ ถ้าผมเอาแต่บ่น
และโทษคนอื่นตลอดเวลา
โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย
ปล่อยให้ความเบื่อหน่าย
ทำลายกำลังใจตัวเอง
=============================
ความปลอดภัยก็เหมือนอากาศ
หากขาดก็เท่ากับตาย!
=============================
อภิรัตน์ ทิพย์กระโทก
วิทยากร/นักเขียน
ด้านความปลอดภัย
สามารถอ่านบทความย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/safetycorner
ติดต่อ 086 625 7218

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น